• ร่วมเป็นพาร์เนอร์
  • 02-0260692
  • ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เก่าแก่ที่สุด เทรดเดอร์ใช้มาก่อนการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์เสียอีก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดในการระบุแนวโน้มสำหรับตราสารทางการเงินทุกประเภท เช่น ค่าเงิน หุ้น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures และ Options) และสกุลเงินดิจิทัล จุดประสงค์ของ MA ก็เพื่อแสดงทิศทางของเส้นแนวโน้มที่แท้จริงโดยการปกปิด “สัญญาณรบกวน” ของตลาด กราฟแสดงค่าเฉลี่ยนั้นเป็นระดับแนวรับ/แนวต้าน ส่วนการคำนวณขึ้นอยู่กับผลรวมของราคาของสินทรัพย์การเทรดในช่วงเวลาที่ผ่านมาช่วงหนึ่ง ซึ่งแบ่งแยกโดยปริมาณของราคา ดังนั้น ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จึงคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความผันผวนของราคาที่ผ่านมาโดยไม่คำนึงถึงสัญญารวบกวนของตลาด การคำนวณนี้สามารถทำได้ที่ราคาเปิด/ราคาปิด และราคาสูงสุด/ต่ำสุด

    ความน่าเชื่อถือของสัญญาณ MA ระบุได้โดยตัวเลขจากการคำนวณระยะเวลา ยิ่งระยะเวลาที่ใช้คำนวณมากเท่าไหร่ สัญญาณก็จะยิ่งน่าเชื่อถือเท่านั้น

    ตัวชี้วัด MA ใน Forex อื่น ๆ

    หนึ่งในตัวชี้วัดที่ง่ายที่สุด และเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ Simple Moving Average (SMA) นอกจากนี้ ใน SMA แล้ว ยังมีตัวเลือกตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่เป็นที่แพร่หลาย และมีในแพลทฟอร์มการเทรดส่วนใหญ่

    • แบบยกกำลัง (Exponential Moving Average, EMA)
      ตัวชี้วัด EMA นั้นตรงข้ามกับตัวชี้วัดแบบง่าย ซึ่งไม่สร้างความแตกต่างระหว่างระยะเวลาที่คำนวณราคา ตัวชี้ EMA จะเพิ่มมูลค่าให้กับข้อมูลล่าสุด จากการราคาที่ปิดปัจจุบัน มูลค่าจะลดลงแบบเท่าตัวจากบาร์แรกที่อ่อนไหวมากที่สุด ไปยังบาร์ที่คำนวณสุดท้าย ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการคำนวณแนวโน้ม อัลกอริธึมของ EMA ช่วยให้คุณตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เร็วขึ้น เพื่อให้เทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพในกรอบเวลาเล็ก ๆ

    • แบบถ่วงน้ำหนัก (ตัวชี้วัด Linear Weighted MA, LWMA, WMA)
      การเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัด EMA ด้วยอัลกอริธึมที่แตกต่างกันมีผลต่อความสำคัญ (น้ำหนัก) ของช่วงเวลา เช่นเดียวกับ EMA ใน LWMA ที่บาร์ล่าสุดมีน้ำหนักมากที่สุด จากนั้นความสำคัญจะลดลงเมื่อเทียบกับแบบยกกำลัง ตัวชี้วัด LWMA นี้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงมากกว่า เพราะฉะนั้นจึงใช้ในตลาดหุ้นมากกว่า ซึ่งเป็นตลาดที่แรกเริ่มลื่นไหลกว่าตลาด Forex ที่ผันผวน

    • เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบลื่นไหล (Smoothed MA: SMMA)
      เส้นค่าเฉลี่ยนี้ทำงานตรงกันข้าม ช่วงเวลาก่อนหน้านี้มีน้ำหนักมากกว่า และมูลค่าของบาร์ปัจจุบันลดลงอย่างเป็นลำดับ ดังนั้น การเคลื่อนไหวของ SMMA จึงมีแรงต้านต่อความผันผวนของราคาเล็ก ๆ มากกว่า

    วิธีการใช้ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA)

    การตั้งค่า MA สามารถแตกต่างกันไปตามกลยุทธ์ที่คุณใช้ แต่มีหลักการพื้นฐานทั่วสำหรับการใช้เส้นค่าเฉลี่ยคงที่ในการเทรดกับตราสารทางการเงินใด ๆ ก็ตาม คือ

    1

    เลือกช่วงเวลาที่ถูกต้องสำหรับ MA

    2

    วิเคราะห์องศาการเอียงของ MA ยิ่งองศาการเอียงของ MA มากเท่าไหร่ ความเป็นไปได้ที่ตราสารทางเกินนั้นจะเพิ่มขึ้นหรือลงลงก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

    การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่:

    • การใช้ MA เป็นเส้นแนวโน้ม: การใช้ MA เป็นเส้นแนวโน้มนั้น คุณต้องเลือกลักษณะของ MA ให้ถูกต้อง ถ้าราคาอยู่เหนือกว่าเส้น MA หมายความว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Bullish Trend) แต่ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น MA หมายความว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง (Bearish Trend)

    • ระบุการแกว่งของราคาด้วย MA โมเมนตัม หรือการแกว่งของราคา ก็คือความเร็วของแนวโน้ม วิธีที่ง่ายที่สุดในการระบุโมเมนตัมของตลาดคือ การระบุ MA 3 ตัวบนกราฟ และสังเกตว่าแต่ละตัวมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างไร ถ้าราคายังคงอยู่ข้างบน และเส้น MA เรียงต่อกันไปข้างบนเพื่อเรียงลำดับจากบนไปล่าง: 20, 50 และ 200 แสดงว่ามีโมเมนตัมสูง แต่ถ้า MA วางขวางกันเองและสกัดราคาไว้ แสดงให้เห็นว่าตลาดไม่มีแนวโน้ม

    • แนวรับและแนวต้าน ทางเลือกยอดนิยมคือ การใช้เส้น MA และเส้นแนวรับ/แนวต้าน โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์ใช้ค่า MA ด้วยเลขกลม ๆ เช่น 20, 50 และ 100

    • การตัดขวางกันของเส้น MA จุดตัดขาขึ้นของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นที่เร็วกว่า (ด้วยตัวแปรช่วงเวลาที่ต่ำกว่า) ข้ามเส้นที่ช้ากว่า (ด้วยตัวแปรช่วงเวลาที่ใหญ่กว่า) ทางด้านบนของกราฟ ส่วนจุดตัดขาลงของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นที่เร็วกว่าข้ามเส้นที่ช้ากว่าจากบนลงล่าง

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง